top of page

บุคลากร

ครู 

คำสั่งการดำเนินงานรับการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา 2563

DOWLOAD FILE PDF >>>

 

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางสาวพันทิวา ชาญพลรบ โทรศัพท์ 0815828837

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางสาวอาริษา วัฒนครใหญ่ โทรศัพท์ 0860209325

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นายรัตนันท์ การิกาญจน์ โทรศัพท์ 0812709047

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางสาววิไลรัตน์ แซ่เอี้ยว โทรศัพท์ 0819695828

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นาวสาวทิพวรรณ ขวัญแก้ว โทรศัพท์ 0869647036

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางเกตุสุดา นิลอนันต์ โทรศัพท์ 0883927941

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางสุภาพร เลี่ยงล้ำ โทรศัพท์ 0818914916

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางประกายทิพย์ ดอนกิจภัย โทรศัพท์ 0892913361

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางสาวกัญน์ภัสสรณ์ ศรีเมือง โทรศัพท์ 0642710707

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางมลฤดี สไตน์ โทรศัพท์ 0916561940

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางสาวนีรนุช พวงขาว โทรศัพท์ 0890396025

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางระพีพรรณ วาสินธุ์ โทรศัพท์ 0878857270

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นางสาวสุกัญญา แคว้นเขาเม็ง โทรศัพท์ 0630962500

ชื่อ – สกุลครูแกนนำ นายอภิสิทธิ์ ทองชิดเชื้อ โทรศัพท์ 0863572596

ทะเบียนครูแกนนำ

สื่อ/นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้

การขยายผลสู่ภายนอกสถานศึกษา

 

     โรงเรียนสวนศรีวิทยา ได้ประสานความร่วมมือกับโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายในสหวิทยาเขตชุมพรเขต1 และ 2 เช่น โรงเรียนทุ่งคาพิทยาคาร โรงเรียนมาบอำมฤตวิทยา โรงเรียนท่าข้ามวิทยา โรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก โรงเรียนทุ่งตะโกวิทยา เป็นต้น เพื่อรับการสนับสนุนในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสู่ผู้ปกครองและชุมชน จัดบรรยากาศให้ความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตแก่ชาวบ้านในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง ดำเนินชีวิตแบบพออยู่ พอกิน พอเพียง และเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองมี

     โรงเรียนสวนศรีวิทยา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริม ปลูกฝัง คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง และเสริมสร้างอุปนิสัยความพอเพียงให้ผู้เรียนการบริหารจัดการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมทั้งเนื้อหาในการเรียนรู้ บริการเวลา บุคลากร ให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง และนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ฐานการเรียนรู้ 

    กิจกรรมชุมนุม โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 2 ดาว ฯลฯ มีผลงานเป็นที่ยอมรับ โดยมีการจัดนิทรรศการในชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชน เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ การเข้าศึกษาดูงานในโรงเรียนและนำไปเป็นแบบอย่างมีการนำเสนอผลงานทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาคใต้ ระดับประเทศ เป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับในการเข้าศึกษาดูงานผลงานโครงการสถานศึกษาพอเพียงได้เผยแพร่ผลงานในสถานศึกษาชุมชน จนเป็นที่ยอมรับผลงานต่างๆ ได้มีการเผยแพร่ผลงานในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับเครือข่ายมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร 

   ศึกษาดูงานโรงเรียนชัยบุรีพิทยา รับการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยโรงเรียนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ สู่กระบวนการจัดการเรียนการสอน จากหลักคิดสู่แนวปฏิบัติ เห็นคุณค่าในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการศึกษา




























 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

ศึกษาฐานการเรียนรู้







 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


นักเรียนถอดบทเรียนฐานการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      โรงเรียนสวนศรีวิทยา ได้รับการยอมรับและการให้ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เช่น เทศบาลอำเภอหลังสวน สาธารณะสุขอำเภอหลังสวน ปราชญ์ชาวบ้าน สวนนายดำ เป็นต้น ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชุมชนและหน่วยงานภายนอก เห็นคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและจัดกิจกรรมบูรณาการนโยบายต่างๆของหน่วยงานต้นสังกัด โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

1.  มิติด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจแบบพออยู่พอกินในกลุ่มครูบ้านพักในโรงเรียน
มีการรวมกลุ่มกันเพื่อปลูกผักสวนครัว ไม้ประดับ ผู้บริหารมีนโยบายสนับสนุนให้บุคลากร มีความขยันหมั่นเพียรประกอบสัมมาอาชีพ  เพื่อให้พึ่งตนเองได้  ให้พ้นจากความยากจน การปฏิบัติงานด้วยนโยบายใช้การสแกน QR code แทนกระดาษ การปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งได้ช่วยให้บุคลากรจำนวนมากมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น  มีชีวิตที่เป็นสุขตามสมควรแก่อัตภาพ  พ้นจากการเป็นหนี้และความยากจน  สามารถพึ่งตนเองได้  มีครอบครัวที่อบอุ่นและเป็นสุข

2.  มิติด้านจิตใจ ชุมชนที่มีรากฐานจากเศรษฐกิจพอเพียงเน้นที่จิตใจที่รู้จักพอ  คือ พอดี  พอประมาณและพอใจในสิ่งที่มี  ยินดีในสิ่งที่ได้  ไม่โลภ  ส่งผลต่อการปฏิบัติในโรงเรียน ซึ่งได้รับแนวคิดที่ว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องเริ่มที่ตัวเอง โดยสร้างรากฐานทางจิตใจที่มั่นคง ลดการพึ่งพาจากภายนอก โดยเริ่มจากใจที่รู้จักพอ  เป็นการปฏิบัติตามทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา

3.  มิติด้านสังคม เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษามุ่งให้เกิดสังคมที่มีความสุขสงบ  ผู้บริหารและบุคลากรมีความเมตตาเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน   มุ่งให้เกิดความสามัคคีร่วมมือกันในภารกิจต่างๆที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียน เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้โดยปราศจากการเอารัดเอาเปรียบกัน  

4.  มิติด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจพอเพียงมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตที่ประหยัด  อดออม  มีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ  ฟุ่มเฟือย  ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุนิยมและบริโภคนิยมซึ่งทำให้เกิดการเป็นหนี้เป็นสิน  เกิดการทุจริตคอรัปชั่น โดยโรงเรียนสวนศรีวิทยาได้รับรางวัล 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรมจากการจัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ชมเชยระดับประเทศ ถือว่าเป็นการวางรากฐานด้านวัฒนธรรมในองค์กรที่ดีสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมให้กับผู้เรียน วึ่งเกิดผลเชิงประจักษ์ การทุจริตนั้นเป็นปัญหาสังคมที่ร้ายแรงที่สุดปัญหาหนึ่งที่บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ 

มิติทั้ง 4 ด้านของเศรษฐกิจพอเพียงได้สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ส่งผลดีต่อแค่ด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อด้านต่างๆ ที่มีส่วนช่วยให้บุคลากรในโรงเรียนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นผลความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษา ชุมชน หรือหน่วยงานอื่น ตามวิถีชีวิตที่ไม่ฟุ้งเฟ้อ และอยู่บนพื้นฐานของความพอดี

 

อบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     วันที่ 26 -28 ธันวาคม 2563 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงโดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีผู้เข้ารับการอบรมจากโรงเรียนเครือข่าย และโรงเรียนในสหวิทยาเขต ชุมพร 2 ณ ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) โรงเรียนสวนศรีวิทยา

































 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

ถอดบทเรียนฐานการเรียนรู้


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



 

พิธีมอบเกียรติบัตรอบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบการจัดการเรียนรู้

16 กุมภาพันธ์ 2564 นางดวงฤทัย ทองแก้วเกิด ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนศรีวิทยา พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการ และคณะผู้บริหาร มอบเกียรติบัตรให้กับนักเรียนที่ทำความดีผ่านโครงการคุณธรรม “ปณิธานความดี ทำดีเริ่มได้ที่ใจเรา” เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต และพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราช จำนวน 6 คน และนักเรียนที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง จำนวน 45 คน ณ สนามหน้าเสาธง โรงเรียนสวนศรีวิทยา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

bottom of page